วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2554

Modify ใส่ Internal HDD ให้กับ AZBox Ultra

สวัสดีครับ
ห่างหายไปนาน ช่วงน้ำท่วมก็มัวแต่เก็บของหนีน้ำ ตอนนี้น้ำลดแล้วขี้เกียจยกของลงซะงั้น
ไม่ค่อยได้ลองเล่นอะไรกับ AZBox เลย เพียงแต่ดูและอัดรายการเท่านั้นเอง
ความจริงโปรเจคโมดิฟายใส่ HDD นี้เริ่มมาหลายเดือนแล้ว แต่ยังไม่ได้ทำต่อเท่านั้นเอง
ก็กะว่าถ้าทำคราวนี้ไม่สำเร็จก็จะเลิกทำแล้ว แต่ปรากฏว่าทำสำเร็จ เลยมาบอกเล่าให้ท่านๆได้รับทราบกัน
เผื่อว่าใครสนใจอยากทำ



Background
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า AZBox Ultra ของจีนนั้นไม่มีฟังก์ชั่นสำหรับต่อ HDD แบบ SATA
จะมีก็เพียง USB มาให้ 2 ช่อง ซึ่งก็สามารถเอา HDD ไปเสียบได้เช่นกัน
แต่เมื่อไปพิจารณาแผงวงจรแล้ว จะพบว่ามีอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับ HDD ไม่ได้ใส่มาเพียง 3 ตัวเท่านั้น
จึงคิดว่าหากเพิ่มอุปกรณ์ 3 ตัวนี้เข้าไปแล้ว เครื่องน่าจะสามารถเอา HDD ไปต่อเข้าตรงๆได้
อุปกรณ์ 3 ตัวที่ว่าคือ 1)IC PATA<>SATA 2)Oscillator 3)Connector



Components
จากการลองผิดลองถูก เอา IC เบอร์ฺโน้นมาใส่เบอร์นี้มาใส่ก็พบว่ามันไม่ใช่ ไม่สามารถใช้งานได้
เพราะว่าอุปกรณ์รอบๆนั้นติดตั้งมาสำหรับ IC ที่ตรงเบอร์เท่านั้นก็คือ IC ของยี่ห้อ Marvell เบอร์ 88SA8052-NNC2

ส่วน Oscillator นั้นใช้ค่า 20MHz (3.3V) ขอให้เข้าใจตรงกันนะครับว่า Oscillator นั้นไม่ใช่ X-TAL และมันมี 4 ขา ในขณะที่ X-TAL ทั่วไปมีแค่ 2 ขา
ความจริง IC เบอร์นี้ก็สามารถใช้ X-TAL ได้ แต่ต้อง Config ยุ่งยาก(มาก)เพราะต้องไปบัดกรีที่บางขาของ IC ออกมา

ส่วน Connector นั้นก็เป็นแค่ SATA Connector ทั่วๆไปไม่มีอะไรพิเศษ

Resources
สำหรับ IC นั้นอาจจะหายากนิดนึง แต่มีขายแน่นอนในไทย ถ้าอยากรู้ว่ามีขายที่ไหน ลองถามกลับไปยังต้นทางของเครื่องที่ท่านซื้อมาครับ มีตัวแทนจำหน่ายในไทย
Oscillator ก็มีขายที่ร้านที่บ้านหม้อ, Connector ไม่รู้มีขายที่ไหนเพราะผมถอดออกมาจาก Motherboard เก่าๆของ PC

How to
การบัดกรี IC ก็ทำได้โดยใช้ลมร้อนเป่า หรือถ้าไม่มีก็ใช้หัวแร้งปลายแหลมๆบัดกรีทีละขาก็ได้ แต่ลมร้อนจะสะดวกและน่าเชื่อถือได้ที่สุด

เพียงแค่ใส่อุปกรณ์ให้ครบทั้ง 3 ตัว ตรวจสอบให้เรียบร้อย ต่อสายไปยัง HDD SATA หาที่จ่ายไฟให้ HDD เปิดเครื่อง ใช้ได้เลย

ถ้าใช้ HDD ตัวเล็กก็ไม่มีปัญหาอะไร เพราะสามารถใส่เข้าไปในเครื่องได้เลย มีพื้นที่เหลือเฟือ และ HDD ตัวเล็กก็ใช้ไฟเลี้ยง 5V อย่างเดียว
สามารถต่อไฟออกมาจาก Connector J30 (Pin 2) ได้เลย

แต่ถ้าใช้ HDD ตัวใหญ่จะมีปัญหา เพราะพื้นที่ไม่พอยัดเข้าไปในเครื่อง และไฟ 12V ก็ไม่รู้จะไปหามาจากไหน (ขี้เกียจไล่หาแล้ว)


อุปสรรคที่จะพบคือ
1. ตำแหน่งของ SATA Connector กับสายที่ออกจากตัวอ่าน card มันชิดกันมาก ครั้นจะถอดตัวอ่านการ์ดออกก็จะเกิดอาการเสียงสะดุด
แก้ไขได้โดยบัดกรีช๊อต(แทนสวิตช์เช็คการ์ด) หรือไม่ก็ยัดมันเข้าไปแน่นๆนั่นแหล่ะ
2. หาไฟ 12V เอานะครับ ถ้าจะใช้ HDD ตัวใหญ่ แต่ขา 4 ของ J30 ไม่ใช่ไฟ 12V แน่ๆ
3. ไม่รู้ว่า HDD มัน access อยู่มั้ย ไม่มีไฟแสดงผล กลัวไปเผลอปิดสวิตช์ตอนมันเขียนข้อมูลอยู่ ยุ่งเลย แต่ถ้าเป็น USB มันมีไฟสถานะให้ดู
4. ต้องหาวิธียึด HDD เอา อาจจะต้องเจาะฐานของ AZBox









ขอบคุณความอนุเคราะห์ IC จากท่านผู้มีน้ำใจครับ
ได้แรงบันดาลใจจากกระทู้นี้ http://thaidreambox.bayore.net/index.php?topic=13433.0

วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2554

AZBox: เปรียบเทียบระยะเวลาการบูตเครื่องระหว่าง E2 กับ OFW

จะเห็นได้ว่า E2 จะบูตช้ากว่านิดหน่อย (0.47 นาที กับ 1.30 นาที) แต่เมื่อใช้งานแล้วจะเปลี่ยนช่องได้เร็วกว่า

วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2554

AZBox Ultra HD user review (ภาค 4.1 : Timeshift)

ฟังก์ชั่น Time Shift
การทำงานฟังก์ชั่นนี้ก็มีหลักการง่ายๆคือเครื่องจะบันทึก(ชั่วคราว)ไปด้วยตลอดเวลาที่เรากำลังนั่งดูอยู่
เราสามารถกด Pause เพื่อหยุดภาพชั่วขณะนั้น หรือว่าสามารถกดย้อนเวลากลับไปดูก่อนหน้านั้น
หรือว่าเดินหน้าไปได้(แต่ไม่เกินเวลาปัจจุบัน)
เหมือนเครื่องย้อนเวลาน่ะครับ
สะดวกดี เพราะบางทีดูรายการกำลังลุ้นๆดันปวดห้องน้ำซะนี่ ถ้าไม่มีฟังก์ชั่นนี้เมื่อวิ่งไปเข้าห้องน้ำ
ก็จะพลาดช๊อตเด็ด ซึ่งเมื่อเปิดฟังก์ชั่นนี้แล้ว คุณก็เพียงแค่ Pause ไว้ (หรือว่าปล่อยมันเล่นไปเรื่อยๆก็ได้)
เมื่อกลับออกจากห้องน้ำก็มาดูต่อจากจุดเดิมได้เลย

การใช้งานก็ง่ายๆ โดยในระหว่างดูรายการ ก็ให้กดปุ่ม Menu แล้วเลือกไปที่ Time Shift
จากนั้นก็เลือกให้มัน Enable (เลือก HDD ที่ต้องการ) แค่นั้นเอง

จะปิดการทำงานก็เพียงแค่เลือกที่ Cancel




เลือกที่ USB1-2 เพื่อเปิดฟังก์ชั่น Time Shift

ในระหว่างการใช้งานสามารถสั่งการหยุดภาพ เดินหน้า ถอยหลังได้

วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

AZBox Ultra HD: ได้ลองลง E2 แล้ว แจ่ม และไม่ยากอย่างที่คิดเลย

อ่านๆๆที่ท่านอื่นๆเขียนไว้ไม่กล้าจะลง E2 ซักที กลัว เพราะเค้าว่ารุ่นนี้เล่นยาก

แต่พอตัดสินใจลองลงดู ทำตามกระทู้ที่กึ่งๆจับมือทำในบอร์ด
มันก็ไม่ยากนี่หว่า แค่ให้ถูกขั้นตอนเท่านั้น

มีขั้นตอนอยู่แค่นี้เอง
1. โหลดไฟล์ที่จำเป็นมาแตกเก็บไว้ในเครื่อง
2. Up จาก Official firmware เป็น E2
3. ลงไฟล์เรียงช่อง
4. ลง Font ไทย
5. ลง Cam และใส่ข้อมูลบ้านเช่า

 เสร็จแล้ว

ถ้าไม่นับเวลาในขั้นตอนที่ 1 ใช้เวลารวมกันทั้งหมดไม่ถึงชั่วโมงเลย

ทำที่ได้ลองเล่นดูแป้บนึง มีข้อดีที่กว่า OFW หลายข้อเลย เช่น
- เปลี่ยนช่องไว
- ภาษาไทยเรียกได้่ว่าสมบูรณ์
- เวลาบูตก็ไม่เห็นจะนานกว่า OFW ซักเท่าไหร่เลย (อย่าเอาไปเทียบกับ Openbox นะ)
- เล่น File media แจ่มมาก ถูกใจจริงๆ
- Youtube HD กันเลยทีเดียว
- เดี๋ยวจะโหลดบิตล่ะนะ หุหุ

ไว้มีเวลาว่างๆจะทำขั้นตอนแบบจับมือทำมาลงให้
ทำได้ทุกคนแน่นอน ขนาดผมยังทำได้ คุณจะทำไม่ได้เชียวรึ

เอา clip เปรียบเทียบคุณภาพของภาพ ระหว่าง OFW กับ E2 มาให้ดูครับ
คุณภาพไม่แตกต่าง แต่ E2 จะให้ภาพออกมาช้ากว่่า OFW

วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554

Inside Openbox S10 HD PVR

ว่าจะหาช่องต่อ S/PDIF ซะหน่อย
ไม่มีเลย






ภาพขนาดใหญ่พิเศษ กดที่นี่

วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2554

AZBox Ultra HD user review (ภาค 4.1)

การบันทึกรายการ TV แบบบันทึกอีกช่อง ดูอีกช่อง
เค้าทำได้ครับ AZBox Ultra HD สามารถบันทึกอีกช่องในขณะที่ดูอีกช่องได้ (Transponder เดียวกัน)
เมื่อต่อ HDD ไว้เรียบร้อยแล้ว
การใช้งานก็ไม่ยุ่งยากอะไร เพียงแค่กดปุ่ม Rec ที่รีโมท เครื่องก็จะเริ่มบันทึกรายการขณะนั้นที่กำลังดูอยู่
ในระหว่างนี้ท่านก็สามารถดูช่องนั้นต่อไป หรือกดเปลี่ยนช่องไปช่องอื่นได้เลย
ถ้าดูใน Channel List ให้ดูสัญลักษณ์รูปจานดาวเทียมข้างหลังรายชื่อช่อง
ถ้าเป็นสีฟ้าแสดงว่าอยู่ใน TP เดียวกัน สามารถเปลี่ยนไปดูช่องนั้นๆได้เลย โดยที่การบันทึกก็ยังดำเนินต่อไปที่ช่องเดิม
แต่ถ้าเป็นสีเทาแสดงว่าต่าง TP กัน ถ้าเปลี่ยนไปดู เครื่องจะถามว่าต้องการเปลี่ยนจริงๆมั้ยเพราะถ้าเปลี่ยนก็จะหยุดบันทึก


ในรูปผมบันทึกช่อง 53 ขณะที่กำลังดูช่อง 25 ครับ


รูปนี้แสดงให้เห็นว่าเราสามารถเปลี่ยนไปดูช่องไหนได้บ้างโดยที่การบันทึกไม่ถูกขัดจังหวะ (สัญลักษณ์สีฟ้า)

ก็สะดวกดีครับ แบบรักพี่เสียดายน้อง แบบว่าผู้ชายจะดูบอลแต่แฟนจะดูละคร จะได้ไม่ทะเลาะกัน

การตั้งเวลาบันทึกรายการล่วงหน้า
สามารถตั้งบันทึกได้หลายโปรแกรม แต่ยังไม่เคยนับซักทีว่าได้กี่โปรแกรม แต่น่าจะเกิน 8 โปรแกรมแบบที่ Openbox ทำได้แน่
ง่ายๆ เพียงแค่เลือก EPG ไปยังรายการที่ต้องการ แล้วกด OK ก็จะมีหน้าต่างขึ้นมาถามว่าจะบันทึกหรือว่าแค่เปลี่ยนช่องมาตามเวลาเฉยๆ
เมื่อถึงเวลาเครื่องก็จะเปลี่ยนช่องมาบันทึกรายการตามที่ตั้งไว้ แต่บันทึกเสร็จไม่ปิดเครื่องให้นะครับ ไม่เหมือน Openbox ที่จะปิดเครื่องให้เสร็จสรรพเมื่อสิ้นสุดการบันทึก

ในรูปแสดงถึงการตั้งเวลาบันทึก

วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2554

AZBox Ultra HD user review (ภาค 4)

เมนูของ AZBox
ในตอนนี้จะว่าด้วยเรื่องเมนูของ AZBox ซึ่งมีเมนูอยู่ทั้งหมด 11 เมนู ได้แก่

1. TV รับรายการทีวีดาวเทียมระบบดิจิตอลปกติ แต่ที่ไม่ปกติคือสามารถดู IPTV ได้ด้วย (Streamming) เดี๋ยวฟังก์ชั่นนี้ค่อยมาว่ากันอีกทีในตอนถัดไป







2. Youtube Service เครื่อง AZBox สามารถดูรายการ Youtube ได้ โดยดูเป็นภาพเล็กพร้อมรายละเอียด หรือว่าดูแบบเต็มจอก็ได้ สามารถค้นหาึคลิปที่ต้องการได้จากคีย์เวิร์ด และจากการจัดหมวดหมูก็ได้ สำหรับการแสดงผลไม่ค่อยพบอาการกระตุก ดูได้เนียนมาก (เน็ต 3BB 6M) เบื่อๆดูทีวีก็มาดู Youtube เอา






ซึ่งถ้า AZBox สามารถบันทึกรายการ Youtube ได้ด้วยล่ะแจ่มเลย (คาดว่าพวก CFW อาจจะทำได้)

3. Plug-ins สามารถดาวน์โหลดหรือติดตั้ง Plug-ins เสริมได้หลากหลาย เช่น ควบคุมระบบ CAM ต่างๆ, ดูแผนที่ Google Maps, ดูภาพจาก Flickr, ดูพยากรณ์อากาศ ฯลฯ เป็นต้น นับเป็นของเล่นอีกชิ้นนึงของเครื่อง AZBox


4. Movie Player เมนูนี้เป็นเมนูโปรดของผู้เขียนเลยก็ว่าได้ ตั้งแต่ได้เครื่องมายังทำรีวิวไม่เสร็จซักทีก็เพราะเมนูนี้แหล่ะ พอเปิดเมนูนี้ว่าจะทำรีิวิวแต่มันไปไหนต่อไม่ค่อยได้เลย ไม่ใช่เพราะเครื่องค้างนะ แต่เพราะว่ามันดูหนังแล้วสบายตา สีสันสดสวย ก็เลยนั่งดูจนหนังจบเป็นเรื่องๆเลย
วันต่อๆมาจะทดลองต่อก็ดันไปนั่งดูเรื่องอื่นอีกแล้ว มัวแต่มาเพลินกับเมนูนี้อยู่นี่เอง ฮ่าฮ่า


ถูกใจเครื่อง AZBox ตัวนี้ก็ตรงที่เล่นหนังได้หลายนามสกุลดีมาก รวมทั้ง .ISO ที่ส่วนใหญ่ได้มาจากอินเตอร์เน็ต สะดวกมาก ไม่ต้องไร้ท์แผ่นเล่นได้เลย ควบคุมเมนูของแผ่นได้เหมือนเล่นจากแผ่น DVD ของจริงเลยทีเดียว เช่น เลือก Chapter, เลือก เสียง, เลือก Subtitle
พวกไฟล์ .AVI, .MKV, .MP4, .M2TS, .TS, ฯลฯ ก็เล่นได้ไม่มีปัญหา
ที่ถูกใจอีกอย่างก็คือการเล่น Folder DVD ได้เลย (เล่นไฟล์ .IFO) เพราะบางทีไฟล์ที่ได้มาจาก internet มาเป็นไฟล์ย่อยๆอยู่ใน Folder อีกที
สามารถสร้าง Playlist เอาไว้จัดเรียงไฟล์ที่ชื่นชอบได้
ในการเล่นไฟล์ สามารถเล่นได้จากทั้ง Internal HDD, External USB Disk และจาก Network



ผู้เขียนเคยซื้อเครื่องเล่น HD Player มาตัวนึงไม่บอกละกันว่ายี่ห้อ Egreat R200 Wifi เดี๋ยวคนที่ใช้อยู่เค้าจะเขม่นเอา
กะว่าจะเอามาไว้โหลดบิตและดูหนัง Hidef ซะหน่อย ตั้งความหวังไว้เต็มที่ว่ามันจะต้องตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดี
ผลปรากฏว่าวันรุ่งขึ้นขายทิ้งเลยครับ แค่คืนเดียวก็ทนอยู่กับมันไม่ไหว ตอบสนองช้า ใช้ไปแล้วค้าง ร้อนจัดขนาดเครื่องตัดไปเอง (ใส่ HDD ไว้ข้างใน)
ภาพก็ไม่ค่อยถูกใจ แบนราบขาดมิติ สีสันตุ่นๆ เรียกว่าสู้ SONY Blue-ray Player ธรรมดาๆไม่ได้เลย
จะโหลดบิตคงก็ไม่ไหวแน่ๆ เพราะตัวเครื่องมันช่างร้อนจัดซะเหลือเกิน

แต่ถ้าเทียบ AZBox กับ SONY ผมว่าคุณภาพใกล้กันเลยทีเดียว ไม่หนีกันเท่าไหร่


5. Music Player สามารถเล่นไฟล์เพลงได้หลากหลายนามสกุล เช่น MP3, WMA, WAV, FLAC, OGG, ฯลฯ
เรียกได้ว่าได้เกือบครบทุกสกุลไฟล์กันเลยทีเดียว ในเรื่องคุณภาพเสียงก็หายห่วงเพราะสามารถต่อ Optical ไปถอดรหัสที่เครื่องเสียงได้โดยตรง
หรือจะใช้ DAC ภายในก็ได้ หรือจะเป็น HDMI ก็ใช้ได้นะ
การเล่นเพลงสามารถสร้าง Playlist ได้เหมือนกัน และยังสามารถควบคุมการเล่นได้ไม่ว่าจะเป็น Repeat หรือ Random ก็ได้
สามารถแสดงปกอัลบั้มได้ด้วย
ดึงไฟล์มาเล่นผ่านเครือข่ายได้เหมือนกันกับ Movie Player




6. Photo Viewer เครื่อง AZBox ก็มีฟังก์ชั่นเล่นภาพนิ่งด้วย
สามารถเลือกไฟล์เอาไปใส่อัลบั้มส่วนตัวได้เลย ควบคุมการแสดงผลได้ว่าจะให้เต็มจอหรือตามต้นฉบับ
สามารถแสดงเป็น Slide show ได้ และกำหนดเวลาในการเปลี่ยนภาพได้ด้วย
สามารถดึงไฟล์จาก Network ได้ สามารถต่อกล้องดิจิตอลเพื่อดูภาพได้เลย




7. File Manager เป็นฟังก์ชั่นเหมือนเราเปิด My Computer บน PC เลยทีเดียว
สามารถเลือกไฟล์เพื่อเล่นได้ทั้ง Movie, Music หรือ Photo
ถ้าไฟล์ไหนเครื่อง AZBox สามารถเล่นได้ ก็จะแสดงสัญลักษณ์หน้าชื่อไฟล์
สามารถสั่ง Copy, Cut, Paste, Rename, Delete, Arrange ได้เลย ควบคุมเหมือนใน PC เลย





8. FTP ทำให้เครื่อง AZBox กลายเป็น FTP Client สามารถ Connect ไปยัง Server เพื่อดึงไฟล์จาก Server หรือส่งไฟล์ไปเก็บที่ Server ได้เลย
พอดีฟังก์ชั่นนี้ผู้เขียนไม่มี FTP Server จึงไม่สามารถแสดงให้ดูการทำงานได้



9. RSS News เป็นฟังก์ชั่นที่เอาไว้อ่านข่าวในอินเตอร์เน็ต โดยที่ไม่ต้องไปเข้าแต่ละเวบโดยตรง ซึ่ง AZBox จะแสดงหัวข้อรายการขึ้นมา
หากต้องการอ่านแบบเต็มๆก็เพียงแค่กด OK มันก็จะพาไปยังเวบหน้านั้นทันที
เวบไม่แสดงภาษาไทยนะครับ





10. Browser เอาไว้เล่นเวบผ่านตัวเครื่องได้ โดยในฟังก์ชั่นนี้สามารถใช้ USB Keyboard และ USB Mouse ได้อย่างเต็มที่
เพราะว่าในฟังก์ชั่นอื่นๆ Mouse จะไม่สามารถใช้งานได้ แต่ Keyboard สามารถใช้ได้ทุกฟังก์ชั่น
แต่ภาษาไทยใช้ไม่ได้นะครับ
อีกอย่างคงไม่มีใครอยากเปิดเวบด้วย AZBox ล่ะมั้งครับ ผมคนนึงละไม่สนใจฟังก์ชั่นนี้เลย RSS ด้วย




11. Settings ตั้งค่าต่างๆของเครื่อง ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อ Internet การปรับความละเอียดของการแสดงผล การปรับตั้งช่องต่อสัญญาณเสียง
การควบคุมความเร็วพัดลม การฟอร์แมต HDD ฯลฯ





สำหรับเนื้อหาโดยละเอียดของแต่ละเมนูนั้นมีมากเกินกว่าที่ความขยันของผมจะเอามาบอกต่อได้หมด
ต้องทดสอบด้วยตัวท่านเอง

สรุปในส่วนนี้ เครื่อง AZBox Ultra HD นี้ใส่ฟังก์ชั่นต่่างๆมาอย่างเต็มเหนี่ยว บางฟังก์ชั่นก็อาจจะดูเกินๆซะด้วยซ้ำ

แต่เสียอย่างเดียว การแสดงภาษาไทยไม่สมบูรณ์ ไม่งั้นเรียกได้ว่าสุดยอดกันได้เลย

วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

AZBox Ultra HD user review (ภาค 2.1)

เปิดภาคเสริมขึ้นมาหน่อยนึง ว่าด้วยเรื่องของ Port USB ของ AZBox
เพราะว่าในเรื่องของการเชื่อมต่อนั้น AZBox สามารถทำได้หลากหลายจริงๆ
- ต่อ USB Wifi
- ต่อ USB Keyboard
- ต่อ USB Mouse

เชื่อมต่อ Network ด้วย USB Wifi

เนื่องจาก AZBox Ultra ของก๊อบของเรานั้น โดนตัด Hardware ออกไปหลายส่วน
หนึ่งในนั้นคือ Wifi ทำให้การที่จะเชื่อมต่อ Internet ต้องทำผ่านทางสาย LAN เท่านั้น
ซึ่งก็เป็นพื้่นฐานอยู่แล้ว เครื่องละพันกว่าบาทก็เชื่อมต่อได้แล้่ว

แต่ยังไงดีล่ะ เครื่อง AZBox (ของก๊อบ)นี่ราคามันตั้ง 3 พันกว่าเชียวนะ ราคาพอๆกับพวก Supernet Wifi หรือ Viva +Wifi เชียวนะ
ทำไมถึงจะมี Wifi กับเค้าบ้างไม่ได้ จริงมั้ย?

แน่นอน AZBox เราก็ทำได้ มี USB มาให้ตั้ง 2 ช่อง (แถมยังมีซ่อนอยู่ในเครื่องอีก 2 ช่อง)
เราก็หา USB Wifi ถูกๆ ตามท้องตลาดเสียบ ก็ใช้ได้แล้ว

ใครมีเครื่อง AZBox อยู่ก็ลองดูละกันนะครับ เพราะผมมั่นใจว่ามันใช้ไม่ได้กับ USB Wifi ทุกตัว
ของผมใช้ของเก่าๆที่เก็บไว้นานแล้ว ยี่ห้อ Engenius ซึ่งใช้ชิบของ Ralink
มันก็ใช้ได้ทันที

อย่างในคลิปด้านล่างครับ

เสียบ USB ข้างหน้าหรือข้้างหลังก็ได้ ให้ผลเหมือนกัน


เชื่อมต่อ USB Keyboard และ USB Mouse
เบื่อมั้ยกับการที่จะค้นหาคลิปในยูทูปแล้วต้องมานั่งกดๆรีโมท จึ๊กๆ จั๊กๆ กว่าจะได้แต่ละคำ มันช่างแสนยากเย็น
ยิ่งกว่าคีย์ SMS เสียอีก
ยิ่งเจอปุ่มรีโมทที่สุดแสนจะไวต่อการสัมผัสของ AZBox เครื่องก๊อบนี้

ปัญหาเหล่านี้จะหมดไป เพียงท่านนำ USB Keyboard ถูกๆ อันละร้อยกว่าบาทเสียบเข้าไป

ท่านจะสามารถใช้ Keyboard นั้่นแทนรีโมทแบบเดิมๆได้เลย
คีย์ง่ายกว่า ลดการผิดพลาด ลดเวลาลงไปได้เยอะั
 

Mapping ของปุ่มบน keyboard จะเป็นดังนี้ครับ
CHDOWN=63497 #pageup
CHUP=63498 #pagedn
VOLUP=61 #'='
VOLDOWN=45 #'-'
MUTE=32 #space
OK=13 #enter
MENU=9 #tab
UP=63490
DOWN=63491
LEFT=63488
RIGHT=63489
DEL/BACK=8 #Backspace
SEARCH=63492 #ins
CHECK=63493 #del
REW=60#shift+',' = '<'
STOP=34#shift+''' = '"'
PLAY=63 #shift+'/' = '?'
FWD=62#shift+'.' = '>'
PREV=123#shift+'[' = '{'
NEXT=125#shift+']' = '}'
RECORD=63524 #F10
GUIDE=96#`'`
HOME=63494 #home
INFO=126#'~'
SLEEP=63525 #F11
WAKEUP=63527 #F12
UHF
AUX
USB
RESOLUTION
TV/RADIO
RED(SUB-T)=63515 #F1
GREEN(TEXT)=63516 #F2
YELLOW(LANG)=63517 #F3
BLUE(i-KEY)=63518 #F4
YOUTUBE=63519 #F5
WWW=63520 #F6
E-MAIL=63521 #F7
EXIT=27 #ESC

(ที่มา http://goo.gl/22dVM) 

สำหรับ Mouse นั้นจะใช้ได้เมื่ออยู่ในฟังก์ชั่น Browser 
 
อุปกรณ์ USB ที่ยังไม่ได้ลองก็พวก USB external DVD ไม่รู้ว่าเครื่องมันจะใช้ได้หรือเปล่านะ 
เพราะไม่มีอุปกรณ์ลอง

วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554

AZBox Ultra HD user review (ภาค 3)

การใช้งาน



เสียบปลั๊ก เปิดสวิตช์ รอภาพมา ใช้เวลาประมาณ 50 วินาทีภาพถึงจะมา โดยที่หน้าปัดก็มีเพียงแค่ไฟแดงๆ 2 ดวง
ติดๆดับๆไปมา พอภาพมาแล้วก็ติดค้างทั้งสองดวง
ถือว่าใช้เวลาในการบูตนานพอสมควร และไม่มีภาพใดๆปรากฏบนหน้าจอเสียด้วย จนทำให้คิดว่าเครื่องมันใช้ได้หรือเปล่าหว่า?
ถ้าเทียบกับ Openbox S10 ในระหว่างการบูตเค้าก็จะมีไฟ LED 7-Segments ที่หน้าปัดเป็นตัวบอก และมีภาพปรากฏที่ทีวีด้วย และ Openbox ก็ใช้เวลาในการบูตเร็วกว่า(นิดหน่อย)

ครั้งแรกที่เปิดขึ้นมาก็เป็น SCRAMBLED อยู่เพราะว่ายังไม่ได้เสียบการ์ด


การที่จะแสดงเมนูก็กดปุ่ม HOME หรือปุ่้ม Exit ก็ได้ มันก็จะแสดงเมนูขึ้นมา
แต่ก็ต้องระมัดระวังกับการกดปุ่มที่รีโมทหน่อย เพราะปุ่มมันรีพีทไวเหลือเกิน กดทีนึงเหมือนกับกด 2-3 ทีเลยทีเดียว แว้บๆ

เอาล่ะหาการ์ดมาเสียบกันดีกว่า คว่าหน้าคอนแทคลงนะ เสียบการ์ดไว้ประมาณสักครู่ภาพก็มา


SD
คุณภาพของภาพที่ได้รับถือว่าคุ้มค่าตัว เพราะภาพที่ได้จากช่อง SD นี่คมชัด สีสันดีมาก รายละเอียดของภาพในที่มืดก็ดี
ภาพมีมิติตื้นลึก
แทบไม่ปรากฏ Block noise ให้เห็นเลยแม้ว่าจะดูช่องฟรีทีวีกากๆที่ทรูบีบอัดมาซะแทบปลิ้น
เทียบกับ Openbox S10 นี่ระดับหน้ามือกับหลังเท้ากันเลยทีเดียว
เทียบกับ Dreambox ก็ระดับหน้ามือกับหลังมือ คือว่าเห็นความชัดที่แตกต่างล่ะครับ




HD
ภาพที่ได้จากช่อง HD นี่มันอะไรกันเนี่ย ทำไมมันมีมิติอย่างนี้ เมื่อก่อนก็ว่าภาพ HD จาก Openbox S10 ใช้ได้แล้วนะ
แต่เจอตัวนี้เข้าไปคนละเรื่องกันเลย
ภาพจาก S10 มันจะแบนๆไม่มีมิติ ส่วนจากเจ้าตัวนี้มันมีชัดลึก ชัดตื้น
รายละเอียดของภาพก็ดี ให้รายละเอียดภาพในที่มืดดี





เคยดูภาพจากเครื่องเล่น EGREAT R200 ยังสู้ภาพที่ได้จากเครื่องนี้ไม่ได้เลย

เสียดายมากที่กล้องไม่สามารถถ่ายทอดภาพออกมาได้เหมือนกับที่ตาเห็น
ต้องลองดูด้วยตัวเองครับ แล้วจะรู้ว่ามันต่างกันจริงๆ


การเปลี่ยนช่อง
การเปลี่ยนช่องทำได้ค่อนข้างช้าไปนิด ใช้เวลาประมาณ 4 วินาทีกว่าภาพจะมา เทียบกับ Openbox, Dreambox ไม่ได้เลย
พวกนั้นใช้เวลาไม่เกิน 3 วินาทีภาพก็มาแล้ว
การแสดงรายการช่องเป็นแบบ 2 คอลัมน์ ก็คล้ายๆกับ Openbox ที่มี 3 คอลัมน์ แต่ยังสู้ Dreambox ไม่ได้
เพราะ Dreambox มีแสดงรายการย่อๆให้ด้วย แต่ AZBOX ไม่แสดงรายการย่อ แสดงเฉพาะชื่อช่อง


ไม่แน่ถ้า Upgrade firmware อาจจะดีกว่านี้ก็ได้ แต่ยังไม่กล้าเพราะว่ายังมือใหม่อยู่ รอสักพักละกัน
ตอนนี้ใช้ Official Firmware ไปก่อน


ตอนต่อไปจะมาดูฟังก์ชั่นอื่นๆของเครื่องนี้กัน ว่ามันทำอะไรได้บ้างนอกจากดูรายการ TV ผ่านดาวเทียม

AZBox Ultra HD user review (ภาค 2)

แต่เดี๋ยวก่อน
ก่อนที่จะลองเสียบปลั๊กใช้งาน รู้สึกทะแม่งๆชอบกล
ขอลองส่องๆดูใส้พุงก่อนละกัน

Heat Sink หลุด
อ้าว เฮ้ย ทำไม Main Chip ไม่ติด Heat Sink ล่ะเนี่ย แล้วมันหายไปไหนล่ะเจ้า Heat Sink
โห ไปแอบอยู่หน้าเครื่องโน่น
สงสัยมันตกใจระหว่างการขนส่ง เลยโดดหนี Main Chip ไปซะงั้น
ไม่ได้การแล้ว ต้องเปิดฝาเครื่องแล้ว ดีนะที่ไม่ใช้ไปก่อน ไม่งั้นมีหวังพังแหงๆ



CPU
ตัว Main Chip เป็น SMP8635LF ที่เขาว่ากันว่าภาพสวยหนักหนา มีใช้ในเครื่อง Hi-Def Player รุ่นแพงๆ
จะจริงไม่จริงต้องลองดูกันต่อไป
รู้แล้วทำไม Heat Sink หลุดกระเด็นกระดอนไปได้ เพราะพี่แกใช้กาวสองหน้าชนิดบางติดไว้นั่นเอง คงจะติดไม่ดีเลยหลุดง่าย
สงสัยอยู่อย่างนึงแล้วมันจะนำพาความร้อนได้ดีซักแค่ไหนกัน(วะ)เนี่ย
เลยจัดการเอาแผ่นซิลิโคนสำหรับ CPU ของ Notebook แปะไปแทน ซึ่งคิดว่าน่าจะดีกว่ากาวสองหน้าล่ะ



ไหนๆก็เปิดดูใส้พุงกันแล้ว ขอดูอุปกรณ์รอบข้างไปหน่อยละกัน

Audio DAC
งานประกอบแผงวงจรถือว่าใช้ได้ทีเดียว การจัดวางดูเป็นระเบียบเรียบร้อยดี
การคัดเลือกอุปกรณ์ก็ถือว่าพิถีพิถันในระดับนึง
ดูได้จาก Audio DAC ที่เลือกใช้ Chip WM8521 ของ Wolfson ซึ่งกำลังมาแรง มีชื่อเสียง เพราะเป็น Chip ที่ถูกใช้ในเครื่องเล่น iPod, iPhone
ซึ่งถ้าท่านเคยฟังเสียงจากเครื่องพวกนั้นก็คงรู้ว่าคุณภาพเสียงมันไม่ธรรมดาเลย



USB 2.0 4 port controller
มาสะดุดตาที่ Chip VIA ตัวใหญ่ๆ ลองสอบถามอากู๋ดูก็พบว่ามันเป็น IC USB interface แบบ 4 ช่อง
นั่นหมายความว่าถ้าทำการ Modify เพิ่มช่อง USB จากเดิม 2 ช่องเป็น 4 ช่อง ก็จะมี USB ใช้ได้อย่างเหลือเฟือเลยทีเดียว แต่ก็ไม่รู้ว่า Firmware ที่เค้าเขียนมามันรองรับหรือเปล่านะ



Missing Components
ใน Main PWB นี้ พบว่าอุปกรณ์หลักๆได้หายไปสองส่วนก็คือ
- SATA Controller
- TV Encoder

โดย SATA Controller นี้หากนำ Chip มาใส่พร้อม X-TAL 1 ตัว ใส่ขั้ว SATA เข้าไป ก็คงใช้งานได้เลย
เนื่องจากมองรอบๆแล้ว อุปกรณ์ประกอบพวก RC เค้า mount มาให้เรียบร้อยแล้ว สำหรับเบอร์ของ Chip พอจะได้เค้าเลาๆแล้ว
เดี๋ยวถ้าหมดประกันแล้วยังไม่พัง เจอกัน



ส่วน TV Encoder ตำแหน่ง U16 นั้น ยังหาข้อมูลไม่พบว่ามันควรจะเป็น IC อะไร แต่ที่แน่ๆคือไม่ใช่ Video Amp แน่นอน
เนื่องจากสัญญาณขาเข้าจำนวน 6 ขานั้นเป็นสัญญาณ Digital ล้วนๆ ไม่ใช่ Analog
สัญญาณขาออกที่เขา mount R75ohm มาแล้วนั้นเป็นสัญญาณ Y กับ C
ดังนั้นหากรู้เบอร์ IC ก็น่าจะนำมาใช้ได้เลย ดีไม่ดีอาจได้ Composite, Component แถมมาด้วย


-